การครอบฟัน เป็นการรักษาและปกป้องฟันโดยการครอบหรือคลุมฟันที่เสียหายทั้งซี่ ทำให้ฟันซี่นั้นแข็งแรงขึ้น หรือเพื่อเปลี่ยนแปลงรูปร่างฟันให้สวยงามเป็นระเบียบมากขึ้น ด้วยการใช้โลหะล้วน หรือเซรามิกล้วน หรืออาจใช้ทั้งโลหะและเซรามิกมาปรับสีให้เข้ากับสีฟันตามธรรมชาติ เพื่อให้ฟันสวยงาม แข็งแรง นอกจากนี้การครอบฟันยังนิยมทำหลังจากการรักษารากฟัน เพื่อปกป้องให้ฟันกลับมาคงทนทำงานได้เต็มประสิทธิภาพอีกด้วย
เป็นการรักษาทันตกรรมที่ครอบทับฟันซี่ที่เสียหายหรือผุ เพื่อปกป้องฟันจากความเสียหายเพิ่มเติมและคืนรูปลักษณ์และความแข็งแรงให้ฟัน
ครอบฟันทำจากวัสดุต่างๆ เช่น โลหะ เซรามิกหรือเซรามิกผสมโลหะ ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ป่วยและคำแนะนำของทันตแพทย์
ครอบฟันโลหะ
ข้อดี : แข็งแรงทนทาน ราคาถูกกว่าวัสดุอื่นๆ
ข้อเสีย : มองเห็นขอบโลหะได้ อาจทำให้เหงือกดำคล้ำได้
ครอบฟันเซรามิก
ข้อดี : สวยงามกลมกลืนกับฟันธรรมชาติ ไม่ทำให้เหงือกดำคล้ำ
ข้อเสีย : เปราะบางกว่าครอบฟันโลหะ ค่าใช้จ่ายสูงกว่าครอบฟันโลหะ
ครอบฟันเซรามิกผสมโลหะ
ข้อดี : แข็งแรงทนทาน สวยงามกลมกลืนกับฟันธรรมชาติ
ข้อเสีย : ค่าใช้จ่ายสูงกว่าครอบฟันโลหะ
การเลือกวัสดุครอบฟันขึ้นอยู่กับความต้องการและงบประมาณของผู้ป่วย ทันตแพทย์จะแนะนำวัสดุที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย
เหตุผลที่ต้องทำครอบฟัน
1.ฟันผุใหญ่และเยอะ เนื้อฟันเหลือน้อยจึงไม่สามารถรักษาโดยการอุดฟันได้
2.ฟันแตกควรต้องรักษาด้วยการทำครอบฟัน เพื่อเก็บรักษาฟันให้ใช้งานได้ยาวนาน
3.ฟันร้าว อาจมีผลให้แตกในอนาคตได้ จึงควรทำครอบฟันเพื่อป้องกัน
4.ฟันที่เคยผ่านการรักษารากฟันมาก่อน เนื้อฟันไม่แข็งแรงเหมือนกับฟันปกติ
5.สีฟันและรูปร่างฟันไม่สวยงาม เหมือนฟันซี่ข้างเคียง
การครอบฟัน คือ การครอบ หรือคลุมฟันที่เสียหาย
ถือเป็นการบูรณะและปกป้องฟันที่ได้รับความเสียหายจากการแตกหัก หรือฟันที่ได้ผ่านการรักษารากฟัน สามารถทนแทนฟันจริง หรือเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับตัวฟัน โดย ทันตแพทย์จะทำการครอบฟันซี่นั้น ๆ ด้วยวัสดุประเภทต่างๆ อาจทำจากโลหะล้วน ทั้งซี่ด้วยวัสดุเซรามิคล้วน (all ceramic) หรือทั้งโลหะและเซรามิค (PFM) เพื่อให้เกิดความแข็งแรงและสวยงาม เพื่อให้ฟันซี่นั้นมีรูปร่างและประสิทธิภาพการใช้งานดีดังเดิม โดยสามารถปรับสี ให้เข้ากับ สีฟันตาม ธรรมชาติได้
เหตุผลที่ต้องทำครอบฟัน เหมาะกับใคร
1.ฟันผุใหญ่และเยอะ เนื้อฟันเหลือน้อยจึงไม่สามารถรักษาโดยการอุดฟันได้
2.ฟันแตกควรต้องรักษาด้วยการทำครอบฟัน เพื่อเก็บรักษาฟันให้ใช้งานได้ยาวนาน
3.ฟันร้าว อาจมีผลให้แตกในอนาคตได้ จึงควรทำครอบฟันเพื่อป้องกัน
4.ฟันที่เคยผ่านการรักษารากฟันมาก่อน เนื้อฟันไม่แข็งแรงเหมือนกับฟันปกติ
5.สีฟันและรูปร่างฟันไม่สวยงาม เหมือนฟันซี่ข้างเคียง
ครอบฟัน เจ็บไหม
เชื่อว่าหลายคนคงกังวลเรื่องความเจ็บปวด ที่จะเกิดจากการครอบฟัน คงปฎิเสธไม่ได้ว่าจะไม่มีอาการเจ็บ แต่ในการทำครอบฟันนั้น จะใช้ยาชาเพื่อบรรเทาอาหารเจ็บ ทำให้ระหว่างการทำครอบฟัน จะไม่รู้สึกเจ็บเลย หลังจากเสร็จสิ้นการทำครอบฟัน อาจมีอาการปวดเล็กน้อย เช่น ปวดเหงือก แต่สามารถทานยาแก้ปวดได้ และอาการก็จะบรรเทาลงในเวลาไม่นาน
ครอบฟัน ใช้เวลานานไหม
การรักษาจะแบ่งออกเป็น 2-3 ครั้ง ที่ผู้ป่วยจะต้องมาพบทันตแพทย์ ครั้งแรกคือ มาเพื่อได้รับการตรวจประเมินว่าฟันซี่นี้ควรได้รับการครอบฟันหรือเปล่า การตรวจประเมินจะต้องมีการเอกซเรย์ร่วมด้วย แล้วก็ตรวจประเมินว่าเนื้อฟันที่เหลืออยู่เป็นอย่างไร สามารถที่จะทำครอบฟันได้หรือเปล่า เสร็จแล้วก็จะพิมพ์ปากผู้ป่วยครั้งแรกเพื่อส่งทำครอบฟันชั่วคราว แล้วมาในครั้งที่สอง เราได้ครอบฟันชั่วคราวมาแล้ว ครั้งนี้เราก็จะมากรอฟันที่ต้องการทำครอบฟันออก เสร็จแล้วพิมพ์ปากอีกครั้งนึงเพื่อส่งทำครอบฟันถาวรแล้วก็ใส่ครอบฟันชั่วคราวให้กับผู้ป่วยไปใช้งาน ส่วนในครั้งที่สาม ก็จะกลับมาเพื่อที่จะเอาครอบฟันชั่วคราวออกแล้วก็ยึดครอบฟันถาวรให้กับผู้ป่วยอีกครั้งหนึ่ง
การดูแลหลังการครอบฟัน
การครอบฟันนั้นไม่ได้หมายความว่าฟันจะถูกปกป้องจากฟันผุและโรคเหงือก ดังนั้น ยังคงต้องรักษาสุขอนามัยของช่องปากให้ดีอยู่เสมอ โดยการแปรงฟันวันละ 2 ครั้ง และใช้ไหมขัดฟันโดยเฉพาะบริเวณที่มีการครอบฟัน รวมไปถึงการบ้วนปากด้วยน้ำยาบ้วนปากที่ต่อต้านแบคทีเรียอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง
ฟันแตกรักษายังไง
ถ้าฟันแตกของคุณแค่แตกหรือบิ่น คุณหมออาจพิจารณากรอแต่งรูปทรงของฟันให้ โดยกรอแล้วขัดรอยแตกให้ขอบเรียบ ไม่คมจนบาดหรือขีดข่วนเหงือกและลิ้น วิธีรักษาแบบนี้เจ็บตัวไม่มากและเสร็จภายในครั้งเดียว ถ้าฟันแตกเป็นรู คุณหมอจะพิจารณาอุดให้เหมือนเวลาคุณฟันผุ โดยใช้วัสดุอุดฟันตามความเหมาะสม เท่านี้ฟันคุณก็กลับมาดีเหมือนเก่า อุดฟันแล้วช่วยป้องกันไม่ให้อะไรเข้าไปติดในรูฟันและไม่ให้รูนั้นขยายใหญ่ขึ้นด้วย ครอบฟัน ถ้ารอยแตกค่อนข้างใหญ่ เช่นเคี้ยวหินฟันแตก คุณหมอก็ต้องครอบฟันเพื่อซ่อมแซมแทน ปกติวัสดุครอบฟันจะทำจากโลหะหรือเซรามิก ซึ่งถูกออกแบบมาให้คล้ายกันกับฟันจริงๆ และแข็งแรงพอๆ กัน
การครอบฟัน คือ การครอบ หรือคลุมฟันที่เสียหาย ถือเป็นการบูรณะและปกป้องฟันที่ได้รับความเสียหายจากการแตกหัก หรือฟันที่ได้ผ่านการรักษารากฟัน สามารถทนแทนฟันจริง หรือเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับตัวฟัน โดย ทันตแพทย์จะทำการครอบฟันซี่นั้น ๆ ด้วยวัสดุประเภทต่างๆ อาจทำจากโลหะล้วน ทั้งซี่ด้วยวัสดุเซรามิคล้วน (all ceramic) หรือทั้งโลหะและเซรามิค (PFM) เพื่อให้เกิดความแข็งแรงและสวยงาม เพื่อให้ฟันซี่นั้นมีรูปร่างและประสิทธิภาพการใช้งานดีดังเดิม โดยสามารถปรับสี ให้เข้ากับ สีฟันตาม ธรรมชาติได้
ประเภทของครอบฟัน
ครอบฟันมีกี่แบบ สามารถแบ่งประเภทของครอบฟัน ตามวัสดุครอบฟันแต่หลัก ๆ ได้ออกเป็น 6 ประเภทที่เป็นนิยม คือ
ครอบฟันเรซิน (All-resin crown) ในการทดแทนฟันหน้า เหมาะสำหรับ ครอบฟันหน้า เพราะมีความใส สวยงาม เหมือนฟันตามธรรมชาติ รวมถึงในปัจจุบัน เซรามิกมีความแข็งแรงค่อนข้างสูง สามารถใช้ครอบฟันกรามหลังได้
ครอบฟันเซรามิกล้วนแบบแก้วเซรามิก (All-resin crown) มีความสวยงามสูง แข็งแรงระดับปานกลาง เหมาะสำหรับฟันหน้าถึงฟันกรามน้อย เช่น ผลิตภัณฑ์ชื่อ Empress, IPS e-max, ProCAD เป็นต้น
ครอบฟันเซรามิกล้วนแบบโครงแข็งหรือโครงเซอร์โคเนีย (Zirconia) มักเรียกรวมๆ ว่า ครอบฟันเซอร์โคเนีย มีความแข็งแรงสูง เหมาะสำหรับฟันหลัง หรือนำมาฉาบเซรามิกเพื่อความสวยงามสำหรับฟันหน้า ความสวยงามน้อยกว่าแบบแก้วเซรามิกเล็กน้อย ราคาอาจสูงกว่าหรือพอๆ กันกับครอบฟันโลหะเคลือบพอร์ซเลน
การครอบฟันทั้งประเภทเซรามิกผสมโลหะ และแบบเซรามิกล้วน นั้นมีข้อดีคือสีสันของตัวฟันทดแทนนั้นมีสีเหมือนฟันจริงตามธรรมชาติ โดยส่วนใหญ่แล้วทันตแพทย์มักจะแนะนำให้ผู้เข้ารับบริการเลือกใช้ครอบฟันตามความเหมาะสม
โดยพิจารณาตามความเหมาะสมของการใช้งาน
ความแข็งแรง: โลหะ > โลหะเคลือบพอร์ซเลน > เซรามิกล้วน
ความสวยงาม: เซรามิกล้วน > โลหะเคลือบพอร์ซเลน > โลหะ
ปริมาณการกรอเนื้อฟัน: โลหะ > โลหะเคลือบพอร์ซเลน > เซรามิกล้วน
14 ซอยเลิศปัญญา ถนนราชวิถี แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400